Wednesday 24 October 2012

my aim

เป้าหมายของเธออยู่ที่ไหนไม่รู้  เป้าหมายของฉันอยู่ที่นี่

 -----------------------------------------------



พระพุทธเจ้า จอห์น เลนนอน และฟิลิป คอตเลอร์/  by : บุญชัย สุขสุริยะโยธิน


“Imagine there's no countries. It isn't hard to do. Nothing to kill or die for. And no religion too. Imagine all the people living life in peace”
ผมถูกขัง รถติดไม่ขยับบนถนนสุขุมวิท ข้างหน้าของผมมีแท็กซี่กับรถกระบะ พยายามเบียดแย่งเพื่อเป็นเจ้าของพื้นที่ถนน 1 ตารางเมตรขยับเข้าใกล้กันคนละจึ้ก สองจึ้ก ไม่ลดลาวาศอก ถนนของส่วนรวมที่ต่างคนอยากยึดเป็นของส่วนตน
...

“Imagine no possessions. I wonder if you can. No need for greed or hunger. A brotherhood of man. Imagine all the people sharing all the world”
เสียงเพลงจากคลื่นวิทยุค่อยๆจูงมือผมเข้าไปนั่งพักในโลกจินตนาการของจอห์น เลนนอน
โลกสมมติสวยจนอยากชวนทุกคนบนโลกเข้าไปตั้งหลักปักฐานด้วยกัน

ในโลกการตลาด ไม่ต่างจากการขับรถบนท้องถนนกรุงเทพฯ มากนัก แบรนด์เกือบทุกแบรนด์สร้าง market share จากการประหัตประหารแย่งชิงพื้นที่คู่แข่ง เป้าหมายสูงสุดคือการยึดตลาด
และสร้างยอดขายสูงสุด มีเพียงไม่กี่แบรนด์
ที่กำหนดการทำให้ชีวิตคนดีขึ้นเป็น Business Objective จับต้องได้

หนึ่งในนั้นคือ Carmina Campus แบรนด์กระเป๋าที่ขยายmarket share
จาการ Sharingกับโลกและคนด้อยโอกาส ที่ไม่เคยเป็น stakeholder จริงจังของบริษัทไหนทั้งนั้นในโลกความจริง แฟชั่นสร้างธุรกิจจากการกระตุ้นให้คนบริโภคฟุ่มเฟือยเกินจำเป็น เสื้อที่ควรใช้ได้ 5-10 ปี
ก็ทำให้มันเชยเลิกใช้ภายใน 6 เดือนซะ Carmina Campus กลับเลือกที่จะมีส่วนสร้างโลกจินตนาการของแฟชั่นด้วยไอเดีย “To refuse excessive consumption and invent a new life for things, extending their use” และดำเนินธุรกิจ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ สร้างบาลานซ์ระหว่าง เศรษฐกิจ สังคม
และสิ่งแวดล้อม
กระเป๋าทุกใบของ Carmina Campus สร้างจากวัสดุรีไซเคิล ที่คนทิ้งขว้าง ผ่านดีไซน์ฉลาดๆ

เกิดเป็นกระเป๋าแฮนด์เมดพรีเมียมสุดเก๋ จนได้อวดโฉมในเทศกาลแฟชั่นระดับโลก
แต่ละดีไซน์จะมีแค่ 1 ใบเท่านั้น ป้ายสินค้าที่ติดกับกระเป๋าไม่เพียงทำหน้าที่บอกแบรนด์ 
แต่ยังเป็นสูจิบัตรของกระเป๋า บอกรายละเอียดถึงวัสดุที่ใช ้และระยะเวลาในการผลิต 
ทำให้สตอรี่ของแบรนด์จับต้องได้จริง

ที่เด็ดยิ่งกว่านั้น คอลเลคชั่นแต่ละเซ็ท ไม่แบ่งตามซีซั่นเหมือนแฟชั่นทั่วไป แต่คิดจากวัสดุที่นำมาใช้ 

หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก ที่ต้องการสื่อให้คนรับรู้ เช่นเซ็ท pollution from cars and airplanes 
เซ็ท water wastage ราคาขายแต่ละชิ้น ส่วนใหญ่สูงกว่า 500 ปอนด์ ฟังดูเหมือนหน้าเงิน 
แต่เค้าเอาเงินส่วนใหญ่จากกำไรไปช่วยคนชายขอบ

ล่าสุดแบรนด์นี้ สร้างแคมเปญ Co-Creation กับ International Trade Centre ซึ่งเป็นหน่วยงานร่วมมือ

ระหว่าง UN และ WTO เพื่อช่วยขจัดความยากจนในแอฟริกา วัตถุดิบทั้งหมดเป็นของเหลือใช้ในพื้นที่และถูกสร้างสรรค์โดยผู้ด้อยโอกาสในแอฟริกา เกิดการสร้างงาน สอนทักษะเพื่อให้เค้ามีวิชาชีพไว้สร้างอนาคต และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมไปในตัว

Carmina Campus ทำลายกำแพงที่แบ่งแยกระหว่างเชื้อชาติ ระหว่างธุรกิจกับสังคม ระหว่างแฟชั่นกับธรรมชาติ และระหว่างแฟชั่นนิสต้าและคนชายขอบ การให้ที่เป็นการละตัวตน 

ในโลกธุรกิจ  การให้ กลับทำให้ตัวตนของแบรนด์ชัดยิ่งขึ้น

ฟิลิป คอตเลอร์ กล่าวในหนังสือ Marketing 3.0 ว่าเรากำลังก้าวสู่ยุคทำการตลาดกับคน

(Human-Centricity) ที่เลือกแบรนด์ที่เปิดโอกาสให้เค้าร่วมสร้างคุณค่า (Value)ให้กับสังคม
และตอบสนองความต้องการเบื้องลึกในใจ ความโดดเด่นของแบรนด์ Carmina Campus
ไม่ได้เกิดจากการทำCS
สร้างเปลือกภาพลักษณ์ หักภาษี เหมือนอย่างหลายแบรนด์ทำกัน 

แต่เกิดจากการกำหนด ‘Purpose’ ของแบรนด์ ว่าแบรนด์จะดำรงอยู่ในสังคมเพื่ออะไร 
ทำให้ทุกก้าวของแบรนด์ดำเนินไปเพื่อส่วนรวม

คนจึงรู้สึกภูมิใจที่หิ้ว Carmina Campus เพราะเหมือนหิ้วโลกไว้ใกล้ตัว 

เป็นวิธีทำตลาด ที่ทำให้โลกแห่งการตลาด เข้าใกล้โลกจินตนาการของจอห์น เลนนอนมากยิ่งขึ้น

คลิก youtube ค้น carmina campus african เพราะมีธรรมชาติจึงมีคน เพราะมีคนจึงมีธุรกิจ 

ความสำเร็จของ Carmina Campus ที่สร้าง Market Share จากการ Sharing คือบทพิสูจน์ความสำเร็จ
ของการดำเนินธุรกิจตามกฏธรรมชาติ อิทัปปัจจยตา* เกิดเป็น value ที่แข็งแรงของแบรนด์ 
และสังคมโลก

เส้นแบ่งของธุรกิจกับสังคมใครเป็นคนแบ่ง บทเพลงของ John Lennon เป็นจินตนาการ 

หรือเป็นความจริงที่มีอยู่แล้ว สิ่งทั้งหลายในโลกแท้จริงคืออัตตา 
หรืออนัตตา แล้วเราล่ะอยู่ในโลกสมมติ หรือโลกความจริง  คำตอบอยู่ข้างในตัวเราครับ

-------------------

*อิทัปปัจจยตา เป็นหลักการทางพุทธศาสนา กล่าวถึงความเกี่ยวเนื่องกันของเหตุและผล
เมื่อมีเหตุย่อมมีผล ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นมาลอย ๆโดยไม่มีเหตุผล

No comments:

Post a Comment