ผ่านวิธีการที่แปลกประหลาด ด้วยการฉายเป็นหนังสั้น ๆ ให้ตัวเราเองได้เห็น
แบบที่สมองฟุ้งบทเดินเรื่องเอาเอง ไร้การควบคุม อย่างที่เราเรียกมันว่าจิตใต้สำนึก
หนังสั้น ๆ ที่มีทั้งเป็นเรื่องเป็นราวต่อเนื่อง กระโดดไปกระโดดมา สมเหตุสมผล
หรือเหนือจริงเว่อร์ ปะปนไปด้วยสถานที่เดิม ๆ สถานที่ที่ไม่เคยไปมาก่อน
มีทั้งคนแปลกหน้า คนรู้จักมารวมแสดง มีทั้งเรื่องกังวลในอดีตโพ้น เรื่องกังวลใหม่ ๆ
เรื่องสุดเซอร์ไพรส์ที่อยากให้เกิดขึ้นมานานปี ไปจนกระทั่ง ฝันถึงตัวละครหลังข่าว
หรือภาพสุดท้ายก่อนปิดเปลือกตา
สมองจะตัดสินใจเลือกเองแบบอัตโนมัติ ว่าอันไหนจำเป็น สำคัญ ต้องเก็บเข้าสมองส่วนลึก
อันไหนไร้สาระ ขี้หมูขี้หมา สามารถลืมทิ้งได้ในพรุ่งนี้ ซึ่งเกณฑ์มาตราฐานของแต่ละคน
ก็คงมาจากสามัญสำนึก ความมีสติ สมาธิ ความฉลาด ความสามารถเฉพาะบุคคล
หรือความกังวล ณ ปัจจุบัน
แม้แต่ขั้นตอนการจะจำ ที่จะต้องผ่านระบบความฝันของแต่ละคืน
บางคนก็จำได้ บางคนก็จำไม่ได้ แล้วบอกว่าตัวเองไม่ฝัน จริง ๆ แล้ว เราฝันกันทุกคน ทุกคืน
จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีใครออกมาบอกกันได้ชัด ๆ กระจ่างแจ้ง เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าทำไมเราถึงฝัน
ฝันเป็นกลไกมหัศจรรย์ของร่างกายมาก ๆ ซึ่งก็มหัศจรรย์พอ ๆ กับทุกอย่างนั่นแหล่ะ
ตั้งแต่การย่อยอาหาร ดูดซึมเอาประโยชน์ไปใช้ เหลือกากทิ้งไป หรือระบบความคิด ฝันกลางวัน
โดยส่วนตัว ฉันชอบที่มนุษย์มีปรากฏการณ์ฝัน หลังเวลาพักผ่อน ตอนที่เราเข้านอนไปแล้ว
แต่ละคืนไม่รู้ว่า สมองจะจัดฉายภาพยนตร์แบบไหนให้ได้ชมกัน จะตื่นเต้นเร้าใจ
จะได้ไอเดียทำงานใหม่ ๆ ได้คำตอบของปัญหาที่คิดไม่ออกตอนกลางวัน
หรือได้พบใครที่แสนอบอุ่น
แต่ที่สมองจัดฉายซ้ำรอบบ่อย ๆ แบบเบื่อ ๆ มักเป็นเรื่องกังวลเก่า ๆ
ไปโรงเรียนไม่ทัน ขับรถเจออุบัติเหตุ กลัวการเจอญาติคนโน้นคนนี้
ไม่รู้ว่ามันเป็นเศษความทรงจำ ที่ตกค้างในร่องสมอง จากระบบที่ขัดข้อง
หรือมันเป็นความกังวลถาวร ที่เกิดจาการกังวลซ้ำ ๆ จนเราไม่อาจลืมเลือนกันแน่
ความฝันยังแปลค่าได้ในทางจิตเวช ตัวเลข ลางบอกเหตุ
ถึงความฝันกลางคืนมันจะเป็นเหตุการณ์ปลอม ๆ แต่บางความฝันมันก็ก่อให้เกิดความรู้สึกแรง ๆ
รู้สึกเหมือนไปสัมผัสมาจริง ๆ กลัวจริง อายจริง อบอุ่นจริง ค้างอยู่เป็นวัน ๆ
ซักวันหนึ่งข้างหน้า อาจจะมีใคนซักคนออกมาบอกว่า การที่ร่างการต้องฝัน
เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร จะฝันดี หรือฝันร้าย เราก็แค่ อิ่มไป หรือ หิวไป ก็เท่านั้น
No comments:
Post a Comment